บทนำ | IFS Capital (Thailand)

ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทได้ดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับบริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน

กล่าวคือ เป็นการมุ่งมั่นเพื่อให้ธุรกิจมีการเจริญเติบโตภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มของบริษัท สังคมและสิ่งแวดล้อม แนวคิดดังกล่าวได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกิดจากการดำเนินธุรกิจทั้งกระบวนการให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส มีธรรมภิบาล ซึ่งจะนำพาบริษัทไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนโดยอาศัยการสนับสนุนและการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคนในองค์กร

เอกสารดาวน์โหลด

ความรับผิดชอบต่อสังคม
ดาวน์โหลด
การบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)

บริษัทได้ปรับปรุงห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท เพื่อสะท้อนกิจกรรมของธุรกิจ และเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ความเสี่ยง และโอกาสในการพัฒนาธุรกิจ โดยคำนึงถึงการสร้างคุณค่าแก่องค์กร สร้างผลกระทบเชิงบวก ลดผลกระทบเชิงลบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสรุปได้ ดังนี้

การบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
1. การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Engagement)
  • ลูกค้า: การวิเคราะห์ลูกค้า โดยใช้วิธีสำรวจความคิดเห็น ความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นวัตถุประสงค์ หรือความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาปรับปรุงการดำเนินงานของบริษัท​ ​
  • พนักงาน: กลุ่มที่มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจขององค์กรให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะในหน่วยงานที่ต้องติดต่อกับลูกค้า ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีการพัฒนาบุคคลากรให้มีความรู้เชี่ยวชาญ และทักษะเกี่ยวกับงานอย่างเพียงพอ
2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการอัจฉริยะ (Smart Products & Services)

การนำนวัตกรรม / เทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ที่สามารถทำให้ลูกค้าทุกกลุ่มเข้าถึงได้ง่าย ตรงตามความต้องการของลูกค้า และแตกต่างจากคู่แข่ง

3. การปฏิบัติการอัจฉริยะ (Smart Operations)

การดำเนินงานด้านการปฏิบัติการที่มีการสร้างทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญ และนำนวัตกรรม / เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในกระบวนการด้านเอกสาร เพื่อความสะดวก รวมเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งมีระบบป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าและการคุกคามทางไซเบอร์ เป็นต้น​

4. การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจกับลูกค้า (Smart Partner)

เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า การให้ความรู้ คำปรึกษาเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ ควบคู่ไปกับการมองหาโอกาสการลงทุนร่วมกับลูกค้าภายใต้ “Your Partner in Success”