ไอเอฟเอสเล็งขาย (IPO) ปีหน้า 120 ล้านหุ้น | IFS Capital (Thailand)
28 ธ.ค. 2552

ไอเอฟเอสเล็งขาย (IPO) ปีหน้า 120 ล้านหุ้น

"ไอเอสเอส แคปปิตอล" เล็งขาย (IPO) 120 ล้านหุ้นแต่งตัวเข้าตลาดไตรมาส 2 ปีหน้า คาดเม็ดเงินระดมทุน 200ล้านบาท ใช้ขยายฐานธุรกิจแฟคเตอริ่ง นายตัน เล เยน กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไอเอฟเอส แคปปิตอล(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าบริษัทไฟลิ่ง ต่อ ก.ล.ต.อนุมัติคาดหุ้นบริษัทจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ไม่เกินไตรมาส 2 ของปี 2553 โดยบริษัทแต่งตั้ง บล.เค ที ซิมิโก้ เป็นที่ปรึกษาทางการเงินและเป็นแกนนำในการจัดจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งนี้

หุ้นสามัญที่จะเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก(IPO) มี 120 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 25.53% ของจำนวนหุ้นที่ชำระแล้วทั้งหมด มูลค่าที่ตราไว้หุ้นล่ะ 1 บาท บริษัทคาดจะได้เงินจากการระดมทุนครั้งนี้ 200 ล้านบาทและจะนำไปใช้ในการขยายฐานธุรกิจสินเชื่อแฟคเตอริ่ง และสินเชื่อทางการเงินอื่นๆ ให้แก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMES) และเพื่อใช้เป็นเงินหมุนเวียนภายในกิจการ

เขากล่าวว่า ผลประกอบการปี 2552 คาดจะมียอดการใช้สินเชื่อ 13,500-14,000 ล้านบาท และคาดการณ์กำไรไว้ที่ 71 ล้านบาท ส่วนปี 2553 ตั้งเป้ายอดการใช้สินเชื่ออยู่ที่ 18,000 ล้านบาท หรือเติบโต 30%

นายตันกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นด้วยการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัยพ์ครั้งนี้ จะทำให้บริษัทมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งขึ้น โดยมีทุนชำระแล้วเป็น 470 ล้านบาท และบริษัทจะสามารถระดมเงินด้วยต้นทุนทางการเงินที่ต่ำลง ซึ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันมากขึ้น บริษัทสามารถขยายฐานลูกค้าได้มากยิ่งขึ้นด้วย

ปัจจุบัน บริษัทให้บริการด้านสินเชื่อแฟคเตอริ่ง ซึ่งเป็นสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนรูปแบบการรับซื้อลูกหนี้ทางการค้าทั้งที่เป็นการค้าในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีบริการทางการเงินรูปแบบอื่นๆ เช่นการรับรองตั๋วแอลซี/ทีอาร์(Confirming LC/TR) สินเชื่อสินค้าคงคลัง Contract Financing. Floor Plan, Block Discounting Line

นายตัน กล่าวอีกว่า จุดเด่นที่สำคัญของบริษัทคือการให้บริการที่รวดเร็ว กล่าวคือ บริษัทพิจารณาเอกสารประกอบการขอสินเชื่อและอนุมัติวงเงินได้ภายใน 7 - 10 วันทำการ และเมื่อลูกค้านำเอกสารทางการค้า เพื่อขอรับเงินรับชำระล่วงหน้าก่อน บริษัทสามารถโอนเงินให้ลูกค้าได้ถายใน 24 ชั่วโมง และวงเงินที่โอนเบื้องต้นอาจสูงถึง 90% ซึ่งจุดเด่นของบริษัท ที่ทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์แบบครบวงจร