เทคนิควางแผนภาษี SMEs ให้ธุรกิจเติบโต ประหยัดภาษีได้มากขึ้น | IFS Capital (Thailand)
30 Sep 2023
Factoring Knowledge

เทคนิควางแผนภาษี SMEs ให้ธุรกิจเติบโต ประหยัดภาษีได้มากขึ้น

การวางแผนภาษี เป็นหนึ่งในสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากในการทำธุรกิจ เพราะไม่เพียงแค่ช่วยป้องกันความผิดพลาดทางการชำระภาษีเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs สามารถใช้ทรัพยากรทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการวางแผนลดหย่อนภาษี sme ถืออีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเพิ่มกำไร ลดภาระทางการเงิน และสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจต่อไปในอนาคตได้

สำหรับใครที่อยากได้เทคนิควางแผนภาษี SMEs เพื่อให้ธุรกิจเติบโต ประหยัดภาษีได้มากขึ้น ในบทความนี้ IFS Capital จะมานำเสนอ 5 เทคนิควางแผนภาษี SMEs แบบมืออาชีพ เพื่อให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้มากขึ้น จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

ความสำคัญของการวางแผนภาษี SMEs

  • สร้างพื้นฐานทางการเงินที่มั่นคง : การวางแผนภาษีจะช่วยให้ธุรกิจมีพื้นฐานทางการเงินที่แข็งแรงและมั่นคง มีการวางแผนรายได้และรายจ่ายอย่างเป็นระบบเพื่อรักษาสมดุลในการเงิน
  • ช่วยป้องกันความผิดพลาดทางภาษี : การวางแผนภาษีช่วยลดความเสี่ยงทางภาษีและป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น เพราะมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมายภาษีและการปฏิบัติตามกฎหมายภาษี
  • ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจได้ง่าย : ช่วยให้สามารถเข้าใจถึงผลกระทบทางภาษีจากการเปลี่ยนแปลงนั้น ง่ายต่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ
  • ช่วยในการควบคุมต้นทุน : ช่วยในการควบคุมต้นทุนของธุรกิจ โดยการแยกแยะรายจ่ายทางภาษี และการให้ยอดชำระภาษีที่ตรงต่อเวลา

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SME มีอะไรบ้าง?

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SMEs ในประเทศไทยมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ธุรกิจ ได้แก่

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล : เป็นรูปแบบหนึ่งของภาษีที่นิติบุคคล (บริษัท, บริษัทจำกัด, ห้างหุ้นส่วน, ฯลฯ) ต้องชำระตามรายได้ที่ได้รับ โดยภาษีนี้มักจะคำนวณตามกำไรหรือกำไรสุทธิของนิติบุคคลหลังจากหักค่าใช้จ่ายที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมายภาษี โดยใน 1 ปีจะต้องมีการยื่น 2 ครั้ง คือ ภาษีเงินได้ครึ่งปีโดยใช้ ภ.ง.ด. 51 และภาษีเงินได้ประจำปีโดยใช้ ภ.ง.ด.50
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม : ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT จะหมายถึงธุรกิจที่มีมูลค่าการขายเกินกว่าระดับที่กำหนด (มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี) จะต้องลงทะเบียน เพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมสรรพากรทุกเดือน โดยใช้ ภ.พ.30 ส่งให้กับสรรพากรในเวลาที่กำหนด
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย : เป็นการหักภาษีที่จ่ายให้กับบุคคลหรือนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่ายค่าจ้าง, ดอกเบี้ย หรือการจ่ายค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้รัฐได้รับรายได้ภาษีล่วงหน้าและป้องกันปัญหาในการเรียกเก็บภาษีที่ต้องชำระในภายหลัง
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ : เป็นภาษีที่มีการจัดเก็บจากธุรกิจบางประเภทที่ไม่อยู่ภายใต้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ตามกฎหมายภาษี เช่น ธุรกิจธนาคารหรือการเงิน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยการคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะมักจะอิงตามรายได้หรือมูลค่าธุรกรรมที่เกิดขึ้น เช่น ยอดขาย, กำไร, หรือรายได้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรายได้ให้กับรัฐบาลในการนำไปใช้ควบคุมกิจกรรมธุรกิจที่อาจมีผลกระทบต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อม
  • ภาษีสรรพสามิต : เป็นภาษีที่ถูกเก็บจากการผลิตหรือนำเข้าสินค้าหรือบริการบางประการที่มีลักษณะเฉพาะและมีผลกระทบต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อม เช่น เชื้อเพลิง, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ยาสูบ, รถยนต์, สินค้าพลาสติกและยาง รวมถึงเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬา มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการใช้จ่ายหรือการผลิตที่มีผลต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ต้องการควบคุม ลดการใช้ หรือการผลิตเนื่องจากผลกระทบที่เป็นภาษีสรรพสามิต
  • ภาษีป้าย : เป็นการเก็บภาษีจากการใช้ป้ายที่ติดตั้งหรือนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ โดยปรากฏ ชื่อ ยี่ห้อสินค้า หรือเครื่องหมายทางการค้าสำหรับการประกอบกิจการ การโฆษณาเพื่อหารายได้ โดยภาษีป้ายมักจะถูกเก็บโดยหน่วยงานท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมรายได้ให้กับเทศบาลหรือหน่วยงานท้องถิ่น และมักจะมีการกำหนดอัตราภาษีตามขนาด, รูปแบบ หรือตำแหน่งที่ติดตั้งของป้ายโฆษณา

เทคนิควางแผนภาษี SMEs แบบมืออาชีพ ให้ธุรกิจเติบโตได้มากขึ้น

การวางแผนภาษีสำหรับธุรกิจ SMEs เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและเติบโตได้มากขึ้น และนี่คือ 5 เทคนิคการวางแผนภาษีที่สามารถช่วยให้ SMEs วางแผนภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ

1. กำหนดประเภทธุรกิจให้ชัดเจน

การวางแผนภาษีสำหรับธุรกิจ SMEs ในข้อแรก ผู้ประกอบการจะต้องรู้ก่อนว่าธุรกิจนั้นมีด้วย 2 ประเภท คือ ธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา และธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล ซึ่งตามเงื่อนไขตามที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ กิจการ SMEs จะต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมียอดขายไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี

ซึ่งการกำหนดประเภทธุรกิจให้ชัดเจน และศึกษาการเสียภาษีของธุรกิจในแต่ละประเภทถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เพราะจะช่วยให้คุณสามารถดำเนินการเรื่องภาษีอากรได้อย่างถูกต้อง

2. ศึกษาเรื่องการเสียภาษี

การวางแผนภาษี เรื่องที่สำคัญที่สุด คือ ผู้ประกอบการจะต้องทำการศึกษาเรื่องการเสียภาษีแต่ละประเภทเป็นอย่างดี เพื่อจะได้เข้าใจกฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ, รู้วิธีการลดหย่อนภาษี sme และวางแผนเงินทุนในการจ่ายภาษี รวมถึงควรทำความเข้าใจถึงกฎหมายภาษีที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและปรับตัวต่อสถานการณ์ของธุรกิจ

3. ศึกษาช่องทางลดหย่อนภาษีที่เหมาะสมกับธุรกิจ

การลดหย่อนภาษี sme เป็นส่วนสำคัญในการวางแผนภาษีสำหรับธุรกิจ SMEs เพราะเป็นหนึ่งในตัวช่วยลดภาระภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งจากนโยบายของภาครัฐจะมีหลายมาตรการที่ธุรกิจ SMEs สามารถนำมาใช้ในการลดหย่อนภาษี sme ได้ เช่น ยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล, ค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน, ค่าใช้จ่ายสำหรับการฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานของบริษัท, ค่าใช้จ่ายในการประกันสังคมหรือการประกันสุขภาพสำหรับพนักงาน หรือ ค่าใช้จ่ายในการประกันสังคมหรือการประกันสุขภาพสำหรับพนักงาน เป็นต้น

4. หาที่ปรึกษาทางภาษี

การปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทางภาษี จะช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการกับภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงด้านกฎหมาย และช่วยวางแผนภาษีให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของธุรกิจของคุณ ณ ขณะนั้น ที่สำคัญยังช่วยให้ธุรกิจเป็นไปอย่างคล่องตัวและเติบโตอย่างยั่งยืน

5. จัดการระบบเอกสารและระบบบัญชี

การจัดการระบบเอกสารและระบบบัญชีเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจ SMEs ที่ต้องการจัดการทรัพยากรและการเงินของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดการระบบเหล่านี้ไม่เพียงช่วยให้ธุรกิจมีการจัดการเงินทุนได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการวางแผนและปฏิบัติตามข้อกำหนดทางภาษีอีกด้วย

สรุปบทความ

สำหรับธุรกิจ SMEs การเข้าใจและการจัดการกับภาษี เป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนภาษีที่ดี เนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของภาษีเหล่านี้อาจนำไปสู่ความเสี่ยงทางกฎหมายและค่าปรับที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี และการทำความเข้าใจกฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจทุกขนาด เพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและมีประสิทธิภาพทางการเงิน

ด้วยบริการ สินเชื่อแฟคตอริ่ง เพื่อธุรกิจของคุณ โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน เหมาะสำหรับผู้ประกอบการทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็น SMEs หรือธุรกิจขนาดใหญ่ที่กำลังมองหาสินเชื่อเพื่อธุรกิจ SME การันตีความน่าเชื่อถือของบริษัทด้วยการเป็นผู้นำในธุรกิจแฟคเตอริ่งของประเทศไทย มายาวนานกว่า 30 ปี