6 เทคนิค บริหารกระแสเงินสดให้ธุรกิจเติบโต ที่ธุรกิจ SMEs ควรรู้ | IFS Capital (Thailand)
12 Oct 2023
Business Tips

6 เทคนิค บริหารกระแสเงินสดให้ธุรกิจเติบโต ที่ธุรกิจ SMEs ควรรู้

กระแสเงินสดเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน เจ้าของธุรกิจ SMEs ควรให้ความสำคัญกับการบริหารกระแสเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะรองรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และดำเนินกิจการได้อย่างราบรื่น บทความนี้นำเสนอเทคนิคบริหารกระแสเงินสด 6 ข้อที่ธุรกิจ SMEs ควรรู้

กระแสเงินสด (Cashflow) คือ ปริมาณเงินสดที่ไหลเข้าและไหลออกจากธุรกิจในช่วงเวลาหนึ่ง กระแสเงินสดที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะรองรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และดำเนินกิจการได้อย่างราบรื่น ธุรกิจ SMEs จึงควรให้ความสำคัญกับการบริหารกระแสเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพ และการวางแผนเงินที่ถูกต้องจะช่วยบริหารเงินสดในธุรกิจได้อย่างมั่นคง

IFS Capital ขอแนะนำเทคนิคบริหารกระแสเงินสดสำหรับธุรกิจ SMEs ดังนี้

1.ตรวจสอบสถานะเงินสด

ธุรกิจ SMEs ควรตรวจสอบสถานะเงินสดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทราบถึงจำนวนเงินสดคงเหลือและแนวโน้มของกระแสเงินสดของกิจการ โดยทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นประจำ หรือใช้โปรแกรมบริหารจัดการทางการเงินเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกรรมต่างๆ

ตัวอย่าง

  • ธุรกิจขายปลีกส่งสินค้า ควรตรวจสอบสถานะเงินสดเป็นประจำ เพื่อดูว่ามีเงินสดเพียงพอที่จะจ่ายค่าวัตถุดิบ ค่าจ้างพนักงาน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ หรือไม่ หากพบว่าเงินสดคงเหลือไม่เพียงพอ อาจต้องหาวิธีเพิ่มรายได้ หรือลดค่าใช้จ่าย

2.ประเมินความเสี่ยงธุรกิจ

เจ้าของธุรกิจควรประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจและเตรียมวิธีการรับมือ เพื่อลดผลกระทบต่อกระแสเงินสด เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลก ความเสี่ยงจากคู่แข่ง หรือความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของตลาด

ตัวอย่าง

  • ธุรกิจที่ขนส่ง ควรประเมินความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ถนนพัง เพื่อเตรียมแผนสำรองในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว เช่น หาเส้นทางใหม่ การฝากส่งไปด้วยพาหนะแบบทางอื่น หรือการขึ้นลงของราคาน้ำมัน ที่เป็นต้นทุนหลักในการทำธุรกิจ เช่น การสำรองน้ำมันล่วงหน้า หรือเพิ่มเส้นทางที่สร้างรายได้เพิ่ม

3.บริหารจัดการลูกหนี้และเจ้าหนี้

การบริหารจัดการลูกหนี้และเจ้าหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการวางแผนที่รัดกุมและกำหนดรายละเอียดชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าในการชำระหนี้ ซึ่งอาจทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่องได้

ตัวอย่าง

  • ธุรกิจ SMEs ควรกำหนดเงื่อนไขการชำระเงินที่เหมาะสมกับลูกค้า ติดตามประสานงานและเข้าพบเพื่อสร้างความสัมพันธ์สม่ำเสมอ เพื่อทราบสถานการณ์ของคู่ค้า และบริหารการเก็บเงินเมื่อถึงกำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ธุรกิจ SMEs ควรกำหนดเงื่อนไขการชำระเงินที่เหมาะสมกับเจ้าหนี้ เพื่อวางแผนการชำระเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้สามารถสร้างเครดิตการค้า รวมถึงความน่าเชื่อถือจากคู่ค้าได้

4.บริหารสภาพคล่องกับทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้งาน

  • บ่อยครั้งที่ธุรกิจ SMEs มองข้ามสินทรัพย์ที่ไม่ได้ใช้งานในกิจการ ซื้อมาไม่ได้ใช้ แต่ปล่อยไว้เฉยๆ ควรพิจารณานำทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้งานมาใช้ประโยชน์ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ เช่น ขายทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้งาน ปล่อยเช่าทรัพย์สิน หรือนำทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน

ตัวอย่าง

  • ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ มีเครื่องจักรที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน แต่สภาพยังดีอยู่มาก สามารถนำไปขายเป็นเครื่องมือสอง หรือปล่อยเช่าเพื่อสร้างรายได้ให้กิจการได้
  • ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีที่ดินเปล่าที่ไม่ได้ใช้งาน สามารถนำไปขายหรือปล่อยเช่าเพื่อสร้างรายได้ให้กิจการได้

5.สำรองเงินในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

ในการทำธุรกิจมักเกิดเหตุไม่คาดฝันได้เสมอ ธุรกิจ SMEs ควรสำรองเงินไว้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เพื่อไม่ให้ธุรกิจต้องหยุดชะงัก เช่น เกิดเหตุเพลิงไหม้ เกิดอุบัติเหตุ เกิดโรคระบาด หรือความผันผวนทางเศรษฐกิจ ดังนั้นธุรกิจควรมีเงินสำรองอย่างน้อย 3-6 เดือนของค่าใช้จ่ายประจำ เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

6.สินเชื่อจากสถาบันการเงิน

หนึ่งในทางเลือกในการบริหารกระแสเงินสดที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำมาใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการและสามารถวางแผนเพื่อใช้ในการลงทุนได้อีกด้วย สินเชื่อ SMEs นั้นมีหลากหลายประเภทจากธนาคารและ Non-Bank เช่น สินเชื่อธุรกิจ, สินเชื่อวงเงิน, OD, สินเชื่อแฟคเตอริ่ง, สินเชื่อวงเงินอเนกประสงค์, สินเชื่อลีสซิ่งและเช่าซื้อ และอื่นๆ

Tips

  • ก่อนใช้บริการสินเชื่อ ควรกำหนดความต้องการของธุรกิจก่อน พิจารณาค่าใช้จ่าย เช่น ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และระยะเวลาของวงเงิน รวมถึงความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการเพื่อประโยชน์และคุ้มค่าที่สุดในการนำวงเงินส่วนนี้มาใช้

สรุป

การบริหารกระแสเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจ SMEs เจ้าของธุรกิจควรให้ความสำคัญกับเทคนิคต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อช่วยให้ธุรกิจมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะรองรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดำเนินกิจการได้อย่างราบรื่น รวมถึงเป็นการสร้างเครดิตระหว่างคู่ค้าและสถาบันการเงิน ในกรณีที่จะขยายธุรกิจและลงทุนใหม่ในอนาคต