Checklist ก่อนกู้ SMEs ควรเลือกบริษัทผู้ให้บริการแฟคเตอริ่งอย่าง ? | IFS Capital (Thailand)
02 Oct 2023
Business Tips

Checklist ก่อนกู้ SMEs ควรเลือกบริษัทผู้ให้บริการแฟคเตอริ่งอย่าง ?

บทความนี้ จะแนะนำวิธีเลือกบริษัทผู้ให้บริการแฟคเตอริ่งหรือแฟคเตอร์(Factor)ที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจ SMEs ข้อมูลเชิงลึก สิ่งที่ต้องรู้ก่อนใช้บริการ และเคล็ดลับการเลือกแฟคเตอร์ที่ตอบโจทย์ธุรกิจ SMEs

แฟคเตอริ่ง(Factoring) เป็นสินเชื่อระยะสั้นที่ช่วยให้ธุรกิจ SMEs เปลี่ยนใบแจ้งหนี้ที่รอรับเงินตามเครดิตเป็นเงินสดได้ทันที สามารถเพิ่มกระแสเงินสดได้อย่างรวดเร็วในธุรกิจ แต่การเลือกบริษัทแฟคเตอร์ที่มีความเชี่ยวชาญและเหมาะสมถือเป็นสิ่งสำคัญ ในบทความนี้ เราจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีเลือกแฟคเตอร์ผู้ให้บริการแฟคเตอริ่งมืออาชีพสำหรับธุรกิจ SMEs

เข้าใจความต้องการธุรกิจ

ก่อนที่จะเริ่มมองหาบริษัทแฟคเตอร์ผู้ให้บริการแฟคเตอริ่ง สิ่งสำคัญคือรู้ความต้องการและเงื่อนไขของธุรกิจ ว่าวัตถุประสงค์ของการใช้แฟคเตอริ่งคืออะไร ? เพิ่มเงินทุนหมุนเวียนเพื่อขยายธุรกิจ แก้ปัญหาธุรกิจขาดสภาพคล่อง หรือทั้งสองอย่างหรือไม่? การระบุความต้องการของธุรกิจ จะช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถคัดเลือกบริษัทแฟคเตอร์ ผู้ให้บริการได้ตอบโจทย์และมีประสิทธิภาพ

การเลือกบริษัทแฟคเตอริ่งที่ตอบโจทย์ธุรกิจ SMEs

1.ชื่อเสียงของบริษัทผู้ให้บริการ (Researching Company Reputation)

หนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลือกบริษัทแฟคเตอร์ คือ ชื่อเสียงของบริษัทผู้ให้บริการแฟคเตอริ่ง ผู้ประกอบการ SMEs ควรมองหาบริษัทแฟคเตอร์ที่มีความน่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับในตลาดผู้ให้บริการ และมีหน่วยงานตรวจสอบเรื่องความโปร่งใส เช่น บริษัทที่จดทะเบียนในตลาลหลักทรัพย์ฯ รวมถึงเชี่ยวชาญในธุรกิจแฟคเตอริ่งมาอย่างยาวนาน

2.ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ (Experience and Expertise)

ผู้ประกอบการ SMEs ควรมองหาบริษัทแฟคเตอร์ ที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในธุรกิจแฟคเตอริ่ง ที่ให้บริการทั้งธุรกิจในประเทศและต่างประเทศ บริษัทแฟคเตอร์ที่มีประสบการณ์จะมีลูกค้าหลากหลายธุรกิจ มีความคล่องตัวสูงในการให้บริการ

3.การตรวจสอบข้อมูลเครดิตและเวลาในการอนุมัติ (Verifying Credit Checks and Approval Times)

การเข้าถึงเงินทุนอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจ SMEs ก่อนเลือกใช้บริการแฟคเตอริ่ง ผู้ประกอบการ SMEs ควรสอบถามการเงื่อนไขการพิจารณาสินเชื่อ ขั้นตอนในการอนุมัติสินเชื่อและระยะเวลาในการรับเงิน เพื่อสามารถวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเลือกบริษัทแฟคเตอร์ที่สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจคุณเป็นสำคัญ

4.ข้อกำหนดและเงื่อนไข (Terms and Conditions)

ผู้ประกอบการ SMEs ควรพิจารณาข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาการให้บริการสินเชื่อ เพื่อตรวจสอบว่ามีข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่ไม่เหมาะสมต่อธุรกิจของคุณหรือไม่ ควรทำความเข้าใจอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจลงนามในสัญญา หากลงนามแล้วนั่นหมายความว่ารับทราบและยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขดังกล่าว

5.อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate)

“อัตราดอกเบี้ย” เป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากจะเป็นต้นทุนหนึ่งในการใช้บริการ เมื่อผู้ประกอบการ SMEs ได้คัดเลือกบริษัทแฟคเตอริ่งที่สนใจแล้ว ควรพิจารณาและสอบถามรายละเอียดอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับการเสนอ เพื่อเปรียบเทียบข้อเสนอที่เหมาะสมและคุ้มค่ากับความต้องการของธุรกิจมากที่สุด

6.ค่าบริการ (Service Fees)

อีกปัจจัยหนึ่งที่ควรพิจารณาคือค่าบริการหรือค่าธรรมเนียม แฟคเตอร์ผู้ให้บริการอาจเรียกเก็บเพิ่มเติม เช่น ค่าธรรมเนียมแฟคเตอริ่ง ค่าธรรมเนียมเปิดบัญชี ค่าการดำเนินการ ค่าเก็บหนี้ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ผู้ประกอบการ SMEs ควรสอบถามค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมและเงื่อนไขก่อนตกลงใช้บริการ

7.ระยะเวลาการทำธุรกรรม (Transaction Turnaround Time)

สินเชื่อแฟคเตอริ่ง จุดเด่นหลักคือการได้รับเงินอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ธุรกิจได้รับเงินรวดเร็วตามความต้องการ ผู้ประกอบการ SMEs ควรสอบถามเกี่ยวกับระยะเวลาที่จะได้รับเงิน และให้ความสำคัญด้านขั้นตอนเอกสารและข้อมูล เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินการธุรกรรมระหว่างธุรกิจ SMEs และแฟคเตอร์ผู้ให้บริการ

8.การให้บริการลูกค้า (Customer Service)

อีกปัจจัยสำคัญ แม้ว่าแฟคเตอริ่งจะไม่มีขั้นตอนในการทำธุรกรรมมากนัก แต่ผู้ประกอบการ SMEs ควรพิจารณาด้านการบริการลูกค้าที่ดีและสามารถให้ความช่วยเหลือในกรณีที่เกิดปัญหาแฟคเตอร์ที่มีทีมงานบริการลูกค้า โดยเฉพาะจะทำให้ มีการสื่อสารที่ดีและการแก้ไขปัญหาที่รวดเร็ว ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจท่านสามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น

9.ความคิดเห็นและคำแนะนำ (Recommendations and Referrals)

หากผู้ประกอบการ SMEs มีเพื่อนร่วมธุรกิจหรือคำแนะนำจากธุรกิจอื่น ๆ ที่เคยใช้บริการแฟคเตอริ่ง ทั้งความคิดเห็นและคำแนะนำจากคนอื่นๆ อาจช่วยให้คุณตัดสินใจได้ดีขึ้นในการเลือกแฟคเตอร์ที่ตอบโจทย์ธุรกิจ

10.เงื่อนไขการยกเลิก (Cancellation Terms)

ควรตรวจสอบข้อกำหนดและเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการยกเลิกสัญญา โดยเฉพาะถ้าคุณต้องการยกเลิกในอนาคต ควรเข้าใจถึงข้อกำหนดการและเงื่อนไขอย่างชัดเจน เพื่อไม่ให้มีปัญหาในภายหลัง

สรุป

การเลือกบริษัทแฟคเตอร์ที่ตอบโจทย์ธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้ประกอบการ SMEs ควรพิจารณาและตรวจสอบข้อมูล รวมถึงนำวิธีการที่กล่าวมาข้างต้นเป็น Checklist เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ตัดสินใจเลือกบริษัทแฟคเตอร์ที่เหมาะสมและตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจมากที่สุด

หากท่านมีคำถามเพิ่มเติมหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม อย่าลังเลที่จะติดต่อเราเพื่อขอคำปรึกษาฟรีได้ที่ บริษัท ไอเอฟเอส แคปปิตอล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (IFS Capital) ตัวจริงเรื่องแฟคเตอริ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจแฟคเตอริ่งในประเทศไทย พร้อมให้บริการท่านด้วยทีมงานมืออาชีพ ด้วยประสบการณ์มากกว่า 30 ปี โทร 02 2856326-32