Invoice Factoring เปลี่ยนใบแจ้งหนี้เป็นเงินทุนในธุรกิจ SMEs มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง? | IFS Capital (Thailand)
26 Sep 2023
Factoring Knowledge

Invoice Factoring เปลี่ยนใบแจ้งหนี้เป็นเงินทุนในธุรกิจ SMEs มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?

บทความนี้จะกล่าวถึง “แฟคเตอริ่ง”(Invoice Factoring) สินเชื่อระยะสั้น ที่เปลี่ยนใบแจ้งหนี้เป็นเงินทุน สามารถช่วยธุรกิจ SMEs เพิ่มทุนหมุนเวียนในธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว เรียนรู้ค่าใช้จ่ายในการบริการและกรณีศึกษา

ในโลกธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ธุรกิจ SMEs มีความสำคัญอย่างมาก การขยายธุรกิจและการเติบโตต้องการเงินทุนหมุนเวียน เพื่อให้ธุรกิจดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจ SMEs ที่เพิ่งจะเริ่มธุรกิจไม่นาน และยังไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเพียงพอในการขอสินเชื่อจากธนาคาร มีเครื่องมือทางการเงินที่น่าสนใจที่สามารถช่วยให้ธุรกิจ SMEs นี้ได้รับเงินทุนที่ต้องการ นั่นคือ แฟคเตอริ่ง (Invoice Factoring)

แฟคเตอริ่ง คืออะไร ?

สินเชื่อระยะสั้นในรูปแบบการรับซื้อหนี้การค้า โดยผู้ให้บริการแฟคเตอริ่ง หรือ“แฟคเตอร์ (Factor)” จะรับซื้อใบแจ้งหนี้การค้า (Invoice) จากธุรกิจ SMEs โดยผู้ประกอบการ SMEs จะได้รับเงินสดทันทีหลังจากขายใบแจ้งหนี้การค้าให้กับแฟคเตอร์บริการนี้จะช่วยให้ธุรกิจ SMEs มีเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ค่าใช้จ่ายสำหรับการใช้บริการแฟคเตอริ่งประกอบด้วย

  • ดอกเบี้ย (Interest Fee) : อัตราดอกเบี้ยในการใช้บริการแฟคเตอริ่ง นั้นมักจะเป็นดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) โดยอัตราดอกเบี้ยในการใช้บริการอยู่ที่ 0.5% - 2% ต่อเดือน(โดยประมาณ)*
  • ค่าธรรมเนียมเปิดบัญชี (Commitment Fee) : หรือค่าเปิดวงเงิน เป็นค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากวงเงินที่จะได้รับ โดยแฟคเตอร์จะเรียกเก็บก่อนใช้บริการครั้งเดียวในตอนแรก อัตราค่าธรรมเนียมเปิดวงเงินอยู่ที่ 1% - 3% ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ*
  • ค่าธรรมเนียมแฟคเตอริ่ง (Factoring Fee) : เป็นค่าใช้จ่ายเมื่อมีการนำใบแจ้งหนี้ (Invoice) มาใช้บริการ โดยคิดค่าใช้จ่ายเป็นรายครั้งหรือตามจำนวนเงินในใบแจ้งหนี้ที่นำมาใช้บริการ
  • ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (Other Fees) : เช่น ค่าธรรมเนียมตรวจสอบเครดิตลูกค้า ค่าธรรมเนียมการชำระหนี้ล่าช้า ขึ้นอยู่กับแฟคเตอร์ผู้ให้บริการและเงื่อนไขการให้บริการซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละราย

Case Study

ABZ Company (นามสมมติ) เป็นธุรกิจ SMEs ที่ทำธุรกิจด้านการผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า ได้รับ Order ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า 1 ปี มูลค่า 36 ล้านบาท หรือเดือนละ 3 ล้านบาท จาก XXX Auto Company (นามสมมติ) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ เครดิตเทอม (Credit Term) 60 วัน นับจากวันวางบิลแจ้งหนี้

ในเดือนที่ 1 ABZ Company ผลิตสินค้าเสร็จสิ้นและส่งมอบสินค้า รวมถึงวางบิลแล้ว แต่ยังไม่มีเงินสดมากพอที่จะผลิตสินค้าในเดือนที่ 2 ได้ตามแผน ABZ Company จึงต้องหาแหล่งเงินทุนระยะสั้น เพื่อนำไปใช้ในการซื้อวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิต

ABZ Company สนใจสินเชื่อระยะสั้นอย่างแฟคเตอริ่ง โดยใช้ใบแจ้งหนี้ที่อยู่ระหว่างรอรับเงิน ในการทำธุรกรรมและไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน จึงขอคำปรึกษาจากผู้ให้บริการหรือแฟคเตอร์ ถึงเงื่อนไขและค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ

อนุมัติวงเงินสินเชื่อแฟคเตอริ่ง

“แฟคเตอร์” พิจารณาว่าจาก ABZ Company มีความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนและ XXX Auto Company เป็นบริษัทขนาดใหญ่มีความสามารถในการชำระค่าชิ้นส่วน

จำนวนวงเงิน 6.0 ล้านบาท/ รับเงินล่วงหน้า 80% ของมูลค่าเอกสาร/ ค่าธรรมเนียมเปิดบัญชี 1% / อัตราดอกเบี้ย 8% ต่อปี (คำนวณจากเงินต้นรับล่วงหน้า 80%) และค่าธรรมเนียมแฟคเตอริ่ง 0.5% ต่อใบแจ้งหนี้

ในกรณีนี้ ABZ Company ตกลงใช้บริการ จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการแฟคเตอริ่ง ให้กับแฟคเตอร์ผู้ให้บริการ สำหรับวงเงิน 6.0 ล้านบาท กรณีใช้เต็มวงเงิน

  • ค่าธรรมเนียมเปิดบัญชี : 6,000,000 x 1% = 60,000.00 บาท(ชำระครั้งแรกตอนเปิดบัญชี)

เมื่อ ABZ Company นำใบแจ้งหนี้มูลค่า 2,500,000 บาท ระยะเครดิตเทอมเวลา 60 วัน มาใช้บริการแฟคเตอริ่ง แฟคเตอร์ได้ตรวจสอบเอกสารและแจ้งรายละเอียดดังนี้

  • รับเงินล่วงหน้า 80% ของมูลค่าเอกสาร : 2,000,000 บาท
  • อัตราดอกเบี้ย 8% ต่อปี : (2,500,000 x 0.08 x 60) / 365 = 32,876.71 บาท
  • ค่าธรรมเนียมแฟคเตอริ่ง 0.5% : ใบแจ้งหนี้ 2,500,000 บาท = 12,500 บาท

เมื่อครบกำหนดเก็บเงินค่าสินค้า 2,500,000 แฟคเตอร์รับเงินแล้วจะดำเนินการหักค่าใช้จ่าย

  • หักชำระเงินต้น 2,000,000 บาท
  • หักชำระดอกเบี้ย(60 วัน) 32,876.71 บาท
  • ค่าธรรมเนียมเนียมแฟคเตอริ่ง 12,500 บาท
  • รวมเงินคงเหลือ 454,623.29 บาท (แฟคเตอร์ดำเนินการคืนเงินไปยัง ABZ Company)

ค่าใช้จ่ายการใช้แฟคเตอริ่งในธุรกิจ SMEs พิจารณาจากปัจจัยต่างๆดังนี้

  • ขนาดของยอดขาย โดยทั่วไปค่าใช้จ่ายจะลดลงตามขนาดของยอดขายที่ใช้บริการ
  • เครดิตของลูกหนี้การค้า แฟคเตอร์ผู้ให้บริการจะพิจารณาเครดิตของลูกหนี้การค้าก่อนตัดสินใจรับซื้อหนี้การค้า ดังนั้นผู้ประกอบการ SMEs ควรตรวจสอบเครดิตของลูกหนี้การค้าให้ดีก่อนขายใบแจ้งหนี้การค้า
  • เครดิตการชำระเงิน หากเครดิตการชำระเงินนาน อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มจะสูงขึ้นกว่าเครดิตการชำระเงินสั้น

สรุป

ค่าใช้จ่ายสำหรับใช้บริการแฟคเตอริ่ง ประกอบด้วย ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมเปิดบัญชี ค่าธรรมเนียมแฟคเตอริ่ง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ โดยค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับขนาดของยอดขายของผู้ประกอบการ เครดิตของลูกหนี้การค้า และระยะเวลาการให้เครดิต ผู้ประกอบการ SMEs ควรเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายจากแฟคเตอร์ผู้ให้บริการแฟคเตอริ่งหลายรายก่อนตัดสินใจใช้บริการ เพื่อให้ได้บริการที่ดีที่สุดและคุ้มค่าที่สุด

หากท่านสนใจ สินเชื่อแฟคเตอริ่ง หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อเราทันที ! เพื่อขอคำปรึกษาฟรีได้ที่ โทร 02 285 6326-32 บริษัท ไอเอฟเอส แคปปิตอล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (IFS Capital) ตัวจริงเรื่องแฟคเตอริ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจแฟคเตอริ่งในประเทศไทย พร้อมให้บริการท่านด้วยทีมงานมืออาชีพ ด้วยประสบการณ์มากกว่า 30 ปี