Search
Close this search box.

ทำธุรกิจต้องรู้ L/C หรือ Letter of Credit คืออะไร

ในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ  เป็นเอกสารทางการเงินที่มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและความมั่นคงในการทำธุรกิจ ทั้งยังช่วยสร้างเครดิตให้กับผู้ซื้อและผู้ขายอีกด้วย ในบทความนี้ IFS Capital จะพาทุกท่านไปทำความรู้จัก Letter of Credit กันอย่างละเอียดให้มากขึ้นในบทความนี้

L/C หรือ Letter of Credit คืออะไร ?

Letter of Credit หรือ LC คือ หนังสือรับรองการชำระเงินที่ธนาคารออกให้เพื่อรับประกันการชำระเงินให้กับผู้ขาย เมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน LC ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงที่ผู้ขายจะไม่ได้รับการชำระเงินและช่วยให้ผู้ซื้อมั่นใจว่าจะได้รับสินค้าตามที่ต้องการ

L/C หรือ Letter of Credit มีกี่ประเภท

L_C หรือ Letter of Credit มีกี่ประเภท

Letter of Credit หรือ LC คือ เอกสารยืนยันการชำระเงินในการซื้อขายสินค้า ซึ่งจะมีด้วยกันอยู่ 2 ประเภท ตามรายละเอียดดังนี้

1. ประเภทเพิกถอนได้ (Revocable Letter of Credit)

ประเภทของ LC แบบเพิกถอนได้ เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ออกให้โดยธนาคารเพื่อยืนยันการชำระเงินให้กับผู้ขายตามเงื่อนไขที่กำหนด แต่จุดสำคัญคือ เงื่อนไขเหล่านั้น ผู้ซื้อหรือธนาคารผู้เปิด LC มีสิทธิ์ที่จะยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ขายหรือธนาคารฝั่งผู้ขายทราบล่วงหน้า

ดังนั้นการทำ L/C ประเภทเพิกถอนได้ จึงมีความไม่มั่นคงและมีความเสี่ยงสูงกว่าเมื่อเทียบกับ L/C ประเภท Irrevocable แนะนำให้ผู้ขายเลี่ยง L/C ประเภทนี้

2. ประเภทเพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable Letter of Credit)

เมื่อธนาคารของผู้ซื้อทำการเปิด L/C แล้ว ผู้ซื้อหรือธนาคารผู้เปิดจะไม่สามารถถูกยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขได้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากทั้งสองฝ่าย ซึ่งปัจจุบัน L/C ประเภทนี้เป็นที่นิยมมากในการทำธุรกิจ เพราะมีความน่าเชื่อถือ ผู้ขายจะได้รับการชำระเงินตามเงื่อนไขที่ระบุใน L/C โดยไม่มีความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง

ความสำคัญของการทำ L/C

ความสำคัญของการทำ L_C
  • ช่วยสร้างความมั่นใจในการทำธุรกรรม :ช่วยลดความเสี่ยงของการไม่ได้รับการชำระเงินหลังจากที่สินค้าถูกส่งมอบ
  • ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผู้ซื้อ :เนื่องจากการชำระเงินได้รับความคุ้มครองจากธนาคาร
  • ช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของสภาพการเงิน :ช่วยป้องกันผู้ขายจากความเสี่ยงที่อาจเกิดจากความไม่มั่นคงทางการเงิน
  • ช่วยเพิ่มความสะดวกในการชำระเงิน : ช่วยลดระยะเวลาและเพิ่มความสะดวกในการชำระค่าสินค้า เพราะธนาคารจะเป็นผู้ชำระเงินให้กับผู้ขายโดยไม่ต้องใช้กระบวนการการโอนเงินระหว่างธนาคาร
  • ช่วยลดความขัดแย้งในการทำธุรกิจ :ช่วยลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อเกี่ยวกับการชำระเงินและการรับส่งสินค้าจนนำไปสู่ความขัดแย้งได้
  • ช่วยให้ธุรกิจของผู้ซื้อสินค้าอยู่ในสภาพคล่อง :เพราะไม่ต้องใช้เงินสดก้อนใหญ่ในการมัดจำหรือสั่งซื้อสินค้า

หากคุณกำลังมองหาผู้ให้บริการสินเชื่อแฟคตอริ่ง ชั้นนำ “ไอเอฟเอส แคปปิตอล” ยินดีและพร้อมให้บริการรับซื้อหนี้ทางการค้า (แฟคตอริ่ง) ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจให้บริการผู้ประกอบการในประเทศไทยมากกว่า 30 ปี และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีความน่าเชื่อถือสูง ไม่ใช้หลักทรัพย์ในการค้ำประกัน ตอบโจทย์ทุกผู้ประกอบการธุรกิจ มีบริการตรวจสอบข้อมูลการค้า ด้วยความรวดเร็วและมีคุณภาพ

Share the Post:

บทความที่เกี่ยวข้อง