Search
Close this search box.

ควรบริหารธุรกิจต่อไปอย่างไรเมื่อเจอวิกฤตการเงิน

ควรบริหารธุรกิจต่อไปอย่างไรเมื่อเจอวิกฤตการเงิน

การบริหารธุรกิจในยามปกติก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอยู่แล้ว หากต้องเผชิญกับวิกฤตการเงินเพิ่มอีก ยิ่งเพิ่มความท้าทายให้กับคุณมากขึ้น ซึ่งถ้าคุณหรือผู้ประกอบการรายใดกำลังพบเจอกับพิษร้ายจากเศรษฐกิจ อย่าเพิ่งท้อ ยังมีหลายวิธีที่จะช่วยให้คุณรับมือกับปัญหาได้ มาทำความเข้าใจปัญหาการเงินที่มักเกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง พร้อมเรียนรู้แนวทางการรับมือ เราเชื่อว่าคุณจะผ่านพ้นวิกฤตเหล่านี้ไปได้แน่นอน

ปัญหาการเงินในภาวะวิกฤตมีอะไรบ้าง

ปัญหาการเงินในภาวะวิกฤตมีอะไรบ้าง

ในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ค่อยดี ธุรกิจหลายแห่งต้องเผชิญกับปัญหาการเงินที่หนักหนาสาหัส บางครั้งอาจรู้สึกเหมือนกำลังเจอวิกฤตที่ยากจะฝ่าฟันไปได้ ปัญหาเหล่านี้มักเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ และการบริหารธุรกิจที่อาจมีจุดบกพร่อง ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดปัญหา มีดังนี้

  • การดำเนินธุรกิจชะลอตัว : ผู้บริโภคหาย รายได้ลดลง ยอดการผลิตตก
  • ปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน : รายจ่ายมากกว่ารายรับ ทำให้เงินหมุนเวียนไม่พอ
  • เสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ : เศรษฐกิจไม่ดี ทำธุรกิจไม่ได้กำไร ไม่มีเงินจ่ายหนี้ตามกำหนด
  • หาแหล่งเงินทุนใหม่ยาก : ในช่วงวิกฤต ธนาคารไม่ปล่อยกู้ นักลงทุนชะลอการตัดสินใจ

6 แนวทางการวางแผนรับมือวิกฤตการเงิน

เมื่อเจอวิกฤตการเงิน อย่าพึ่งตื่นตระหนกจนทำอะไรไม่ถูก เพราะในปัจจุบันยังมีหลายวิธีที่จะช่วยให้คุณรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ถ้าคุณกำลังประสบปัญหาในการบริหารธุรกิจ เราขอแนะนำ 6 แนวทางที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณผ่านพ้นช่วงเวลายากลำบากนี้ไปได้ ดังนี้

 

1. จำแนกปัญหาและตรวจสอบสถานะการเงินปัจจุบัน

ก่อนจะแก้ปัญหา ต้องรู้ก่อนว่าปัญหาคืออะไร เริ่มจากดูว่าตอนนี้มีเงินสดเหลือเท่าไหร่ พอจะประคองธุรกิจไปได้อีกนานแค่ไหน ลองเทียบผลงานจริงกับแผนที่วางไว้ และดูว่าในการบริหารธุรกิจมีจุดไหนติดขัดบ้าง เช่น สินค้าขาดตลาด คนงานไม่พอ หรือลูกค้าจ่ายเงินช้า แล้วคิดดูว่าต้องใช้เงินเพิ่มอีกเท่าไหร่ เมื่อไหร่ จะได้วางแผนหาเงินทันเวลา

 

2. ประเมินทรัพยากรที่มี

ประเมินทรัพยากรที่มี

ให้คุณประเมินดูว่าคุณมีอะไรอยู่บ้าง เช็กวงเงินกู้ที่เหลือกับธนาคาร ดูว่าขอกู้เพิ่มได้ไหม นอกจากนี้ คุณอาจต้องลองมองหาแหล่งเงินอื่น ๆ เช่น เงินเก็บส่วนตัว ญาติพี่น้อง หรือทรัพย์สินที่พอจะแปลงเป็นเงินได้ ถ้าเป็นบริษัท ก็ลองคุยกับผู้ถือหุ้นดูว่าจะช่วยเพิ่มทุนได้ไหม หรือจะมีโครงการช่วยเหลืออะไรจากรัฐบาลที่คุณสามารถขอได้บ้าง

 

3. ทำแผนบริหารเงินสด

เมื่อรู้ว่ามีเงินเท่าไหร่ ก็ต้องวางแผนบริหารธุรกิจและใช้ให้คุ้ม เริ่มจากจัดลำดับความสำคัญว่าอะไรต้องจ่ายก่อน-หลัง ลองเจรจากับเจ้าหนี้ขอผ่อนผันการชำระหนี้ หรือหาทางเพิ่มเงินทุน อย่าลืมแจ้งสถานการณ์ให้ทุกคนในบริษัทรับรู้ด้วย จะได้ช่วยกันประหยัด ถ้าจำเป็นต้องลดคน ก็อาจต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้าน HR และที่สำคัญ ต้องหาทางเพิ่มรายได้ด้วย อาจจะทำโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย หรือหารายได้เสริมจากช่องทางอื่น ๆ

 

4. เฝ้าระวังวิกฤตทางโซเชียล

ในยุคนี้ ข่าวแพร่กระจายเร็วมาก โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ คุณต้องคอยติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ดูว่ามีข่าวลือหรือความเข้าใจผิดเกี่ยวกับบริษัทของคุณหรือเปล่า ถ้ามี ต้องรีบจัดการทันที อย่าปล่อยให้ลุกลามจนเสียชื่อเสียง นอกจากนี้ ยังต้องคอยประเมินสถานะการเงินอยู่เสมอ ดูว่าแผนที่วางไว้ยังใช้ได้ดีอยู่ไหม หรือต้องปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง และอย่าลืมมองหาโอกาสใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการเงินด้วย

 

5. ลงมือแก้ปัญหา

ลงมือแก้ปัญหา

เมื่อวางแผนเสร็จ ก็ถึงเวลาลงมือทำ อย่ามัวแต่รอช้า เพราะในภาวะวิกฤต ทุกวินาทีมีค่า เริ่มจากสิ่งที่ทำได้ทันที เช่น ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เร่งเก็บเงินจากลูกหนี้ หรือเจรจาขอส่วนลดจากซัพพลายเออร์ ถ้าต้องปรับโครงสร้างองค์กร ก็ต้องทำอย่างรอบคอบและเป็นธรรม อย่าลืมสื่อสารกับพนักงานให้ชัดเจน ให้ทุกคนเข้าใจและร่วมมือกันฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน

 

6. เยียวยาหลังวิกฤต

เมื่อผ่านพ้นช่วงวิกฤตการเงินมาได้ อย่าเพิ่งวางใจ! จากบทเรียนที่ผ่านมา ลองทบทวนดูว่าอะไรทำให้เกิดปัญหา และคุณแก้ไขมันอย่างไร นำสิ่งที่เรียนรู้มาปรับปรุงการบริหารจัดการ วางแผนรับมือวิกฤตในอนาคต และสร้างภูมิคุ้มกันให้ธุรกิจของคุณแข็งแกร่งขึ้น อย่าลืมดูแลพนักงานที่อยู่เคียงข้างกันมา คุณอาจมีการให้รางวัลพิเศษหรือจัดกิจกรรมสร้างขวัญกำลังใจให้แก่พวกเขา เพื่อให้ทุกคนพร้อมก้าวต่อไปด้วยกัน

สรุปบทความ

การบริหารธุรกิจในช่วงวิกฤตการเงินถือเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ถ้าหากคุณมีการวางแผนที่รอบคอบ การจัดการทรัพยากรอย่างชาญฉลาด และการปรับตัวที่รวดเร็ว จะทำให้ธุรกิจของคุณสามารถผ่านพ้นช่วงเวลายากลำบากนี้ไปได้ สิ่งสำคัญคือต้องมีสติ รู้จักวิเคราะห์สถานการณ์ให้เป็น และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หากผลประกอบการไม่เป็นตามหวังไว้อย่างไรก็ตาม บางครั้งการมีพันธมิตรทางการเงินที่เข้าใจความต้องการของธุรกิจ SME ก็เป็นสิ่งสำคัญ ถ้าหากคุณกำลังมองหาแหล่งเงินทุนที่สามารถช่วยให้คุณผ่านพ้นวิกฤตการเงินไปได้ IFS Capital แนะนำบริการสินเชื่อแฟคเตอริ่งเพื่อ SME เป็นสินเชื่อธุรกิจ SME ที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการ สมัครขอใช้สินเชื่อได้ โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน สามารถรับเงินหมุนเวียนได้อย่างรวดเร็ว

Share the Post:

บทความที่เกี่ยวข้อง