ในปี 2567 เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายมากมาย ทั้งสงครามการค้า โรคระบาด ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบไม่น้อย ทั้งการส่งออกที่ลดลง การท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ และกำลังซื้อภายในประเทศที่คาดว่าจะลดลงในทุก ๆ ปี เพื่อให้ธุรกิจของคุณยังคงอยู่รอดและเดินหน้าต่อไปได้ มาทำความเข้าใจภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและวิธีรับมือกันดีกว่า
“เศรษฐกิจชะลอตัว” ภัยเงียบที่คุกคามธุรกิจไทย
ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว คือ ภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศเติบโตน้อย ไปจนถึงไม่เติบโต ในช่วงนี้ ผู้คนจะระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ทำให้เงินหมุนเวียนในระบบน้อยลง ส่งผลกระทบต่อธุรกิจต่าง ๆ
ซึ่งในประเทศไทย ในครึ่งแรกของปี 2567 เริ่มมีสัญญาณของภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวชัดเจนขึ้น ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมาก ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะโรงแรมขนาดเล็ก นอกจากนี้ อุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศก็เริ่มมีแนวโน้มถดถอยลงเรื่อย ๆ เนื่องจากความต้องการในตลาดโลกที่ลดลงนั่นเอง
อยากลงทุนในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ทำได้หรือไม่
สำหรับในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว คุณจำเป็นต้องระวังเรื่องการลงทุนให้มากขึ้น เพราะในช่วงที่เศรษฐกิจมีการชะลอตัว สถานะทางด้านการเงินของหลาย ๆ คนเริ่มหยุดชะงัก ซึ่งสิ่งที่คุณควรทำ หากคิดจะลงทุนในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี มีดังนี้
- กระจายความเสี่ยง : อย่าเอาไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว ลงทุนในสินทรัพย์หลาย ๆ อย่าง เช่น หุ้น พันธบัตร ทองคำ และเงินฝาก เพื่อลดความเสี่ยงหากผลตอบแทนของสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
- เลือกหุ้นที่มั่นคง : มองหาหุ้นของบริษัทที่มีกำไรสม่ำเสมอ และจ่ายเงินปันผลดีอย่างบริษัทในกลุ่มสาธารณูปโภค หรือสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน
- ทยอยลงทุน : แทนที่คุณจะลงทุนครั้งเดียวเป็นเงินก้อนใหญ่ เราแนะนำให้แบ่งเงินลงทุนเป็นก้อนเล็ก ๆ และทยอยลงทุนเป็นประจำ วิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดได้
- ลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัย : คุณควรพิจารณาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หรือกองทุนตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อรักษาเงินต้นไว้ เพราะในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ การหวังกำไรมากไป อาจทำให้คุณต้องเสียเงินลงทุนทั้งหมดได้
- มองหาโอกาสในต่างประเทศ : ลองพิจารณาลงทุนในประเทศที่เศรษฐกิจยังเติบโตดี แต่ต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน เพราะในทุก ๆ การลงทุนย่อมมีความเสี่ยงเสมอ ไม่แนะนำให้ลงทุนกับสิ่งที่ไม่คุ้นเคย
รวมวิธีรับมือวิกฤตเศรษฐกิจชะลอตัว
เมื่อเศรษฐกิจกำลังมีการชะลอตัว ถ้าคุณไม่รู้จักปรับตัวและเตรียมพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ คุณอาจจะเป็นอีกหนึ่งคนที่พบเจอปัญหาในด้านการเงินได้ แล้วจะทำอย่างไรให้ได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจเช่นนี้น้อยที่สุด มาดู 5 สิ่งที่คุณต้องเตรียมเมื่อเจอภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวกัน
1. บริหารหนี้ให้ดี ไม่ควรสร้างหนี้เพิ่ม
ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว การจัดการหนี้สินอย่างรอบคอบเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ถ้าคุณมีหนี้ ควรพยายามลดภาระหนี้ให้เหลือน้อยที่สุด โดยเฉพาะหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูง เช่น บัตรเครดิต หากมีหนี้หลายก้อน ให้เริ่มจ่ายหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน และพยายามรักษาสัดส่วนการผ่อนชำระหนี้ไม่ให้เกิน 30% ของรายได้ต่อเดือน นอกจากนี้ คุณควรหลีกเลี่ยงการก่อหนี้ใหม่ที่ไม่จำเป็น เพราะอาจทำให้คุณเกิดวิกฤตทางด้านการเงินได้
2. ควรมีเงินสำรอง ใช้จ่ายไม่มีสะดุด
การมีเงินสำรองเป็นเหมือนเกราะป้องกันที่สำคัญในช่วงเศรษฐกิจไม่แน่นอน โดยในสถานการณ์ปกติ คุณควรมีเงินสำรองไว้อย่างน้อย 4-6 เดือน แต่ในช่วงภาวะเศรษฐกิจกำลังชะลอตัว เราแนะนำให้คุณเพิ่มเงินสำรองเป็น 8-12 เดือน เพราะเงินสำรองนี้จะช่วยให้คุณรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดได้ เช่น การตกงาน การขาดทุนในการทำธุรกิจ ค่ารักษาพยาบาล หรือค่าใช้จ่ายฉุกเฉินต่าง ๆ
3. จดบันทึกรายรับ-รายจ่าย สม่ำเสมอ
การทำบันทึกรายได้และค่าใช้จ่าย ถือเป็นก้าวแรกสู่การควบคุมการเงินที่ดี โดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจถดถอย การรู้ว่าเงินของคุณใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง จะช่วยให้คุณตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกได้ง่ายขึ้น ลองใช้แอปฯ บันทึกค่าใช้จ่าย หรือทำตารางง่าย ๆ โดยการจดทุกรายการ ทั้งรายรับและรายจ่ายในแต่ละวัน คุณจะเห็นภาพรวมในการใช้เงินได้ชัดเจนขึ้น
4. จัดพอร์ตลงทุน กระจายความเสี่ยง
ช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว การจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์เป็นสิ่งสำคัญ โดยแนะนำให้มีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนให้มากขึ้น คุณอาจเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัย เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรือกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น แต่ก็ไม่ควรทิ้งการลงทุนในหุ้นทั้งหมด เพราะบางอุตสาหกรรมอาจเติบโตได้ดีแม้ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว เช่น ธุรกิจด้านสุขภาพ หรือเทคโนโลยี
5. รู้จักปรับตัว เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว หรือเศรษฐกิจถดถอย
ในยุคที่เศรษฐกิจผันผวน การปรับตัวเป็นทักษะสำคัญที่ทุกคนต้องมี ใครที่ทำธุรกิจ ต้องพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น ถ้าคุณทำธุรกิจค้าปลีก อาจต้องพิจารณาเพิ่มช่องทางขายออนไลน์ หรือหาสินค้าใหม่ ๆ เข้ามาขาย เพื่อให้ตอบโจทย์ต่อความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน หรือการหาช่องทางสร้างรายได้เพิ่มเติม (Multiple Income Streams) ก็เป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มความมั่นคงทางการเงินได้ดีเลยทีเดียว
สรุปบทความ
ในช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หรือเศรษฐกิจถดถอยเป็นความท้าทายที่ทุกคนต้องเผชิญ แต่ไม่ใช่เรื่องที่ต้องหวาดกลัวจนเกินไป การเตรียมตัวให้พร้อมคือกุญแจสำคัญในการทำให้ธุรกิจของคุณเดินหน้าต่อไปได้ เริ่มจากการบริหารหนี้อย่างรอบคอบ สร้างเงินสำรองให้เพียงพอ ปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา และพร้อมปรับตัวกับสถานการณ์ที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลง สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณรับมือกับวิกฤตที่เกิดขึ้นได้สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจที่กำลังมองหาแหล่งเงินทุนในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวอยู่ IFS Capital พร้อมสนับสนุนธุรกิจคุณด้วย บริการสินเชื่อแฟคเตอริ่งเพื่อ SME เป็นสินเชื่อธุรกิจ SME ที่ตอบโจทย์ธุรกิจ ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน และสามารถเปลี่ยนเอกสารการค้าเป็นเงินหมุนได้อย่างรวดเร็ว มีเงินสำรองไว้ ธุรกิจไม่มีสะดุดแน่นอน