ประเทศไทยมีผู้ส่งออกในหลายภาคธุรกิจ ระบบการซื้อขายระหว่างประเทศมีการชำระค่าสินค้าหลายรูปแบบ และผู้ส่งออกมีภารกิจหลักในการจัดเตรียมสินค้าให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า แต่เรื่องการชำระค่าสินค้าก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เรามาดูกันว่า ผู้ส่งออกใดบ้างที่เหมาะสมกับการใช้สินเชื่อ Export Factoring
1. ผู้ส่งออกที่มีการขายสินค้าที่มีการชำระเงินแบบ Open Account , DP หรือ DA หรือ L/C ที่มีการชำระแบบเครดิตเทอม เช่น 60 หรือ 90 วัน
นับจากวันส่งออก หรือ B/L Date นับจากวันที่สินค้าถึงฝั่งผู้ซื้อในต่างประเทศ เนื่องจากภาระที่ต้องรอการชำระเงินตามเครดิตเทอม จะสร้างปัญหาสภาพคล่องให้กับผู้ส่งออกได้ หากผู้ส่งออกต้องการใช้เงินเพื่อจัดเตรียมสินค้าส่งออกในรอบถัดไป การนำเอกสารส่งออกสินค้ามาใช้สินเชื่อ Export Factoring บริษัทผู้ให้บริการสินเชื่อจะตรวจสอบเอกสารดังกล่าว และหากไม่มีปัญหาเรื่องการส่งสินค้า ผู้ส่งออกจะได้รับเงินสินเชื่อโดยทันที
2. ผู้ส่งออกในทุกภาคการผลิต สามารถใช้บริการสินเชื่อ Export Factoring
เช่น
- ผู้ส่งออกสินค้าเกษตร เช่น ไข่ เนื้อไก่ สุกร เมื่อส่งออกแล้ว จะต้องการกระแสเงินสดมาจัดหาสินค้าเพื่อเตรียมส่งออกในรอบต่อไป เนื่องจากสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ผู้ส่งออกจะต้องจัดซื้อชำระเป็นเงินสด
- สินค้าอุตสาหกรรมที่มีการผลิตเพื่อการส่งออกที่ต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น ชิ้นส่วนประกอบที่ต้องใช้ในการผลิตสินค้าของลูกค้าผู้นำเข้า ดังนั้นหากผู้ส่งออกมีปัญหาเรื่องกระแสเงินสด จะส่งผลกระทบต่อการผลิตเพื่อการส่งออก
3. ผู้ส่งออกที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
การใช้สินเชื่อเพื่อการส่งออก Export Factoring ผู้ส่งออกสามารถเลือกใช้ตามความจำเป็น และสามารถเพิ่มวงเงินสินเชื่อได้ตามการเติบโตของธุรกิจ โดยไม่ต้องพึ่งพาหลักทรัพย์ค้ำประกันวงเงิน ดังนั้นผู้ส่งออกที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็สามารถใช้บริการสินเชื่อนี้ได้
Export factoring เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถเติบโตและมีศักยภาพด้านการเงินให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ทำให้ผู้ส่งออกสามารถมุ่งเน้นไปในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการจัดส่งสินค้าโดยไม่ต้องกังวลเรื่องเงินทุน หรือการรับชำระค่าสินค้า หากผู้ส่งออกท่านใดสนใจผลิตภัณฑ์ Export Factoring สามารถติดต่อบริษัท ไอเอฟเอส แคปปิตอล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้ที่เบอร์ 02-285-6326-32 หรือ เข้าชมเว็บไซต์ได้ที่ www.ifscapthai.com.