Search
Close this search box.

Ep. 2 “บริการประกันความเสี่ยงเมื่อส่งออกสินค้าแล้วคืออะไร”

การที่ผู้ส่งออกต้องการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ แต่มีข้อจำกัดในการสื่อสาร รวมถึงไม่เห็นภาพกิจการของลูกค้าในต่างประเทศได้อย่างชัดเจน ย่อมทำให้การทำธุรกิจร่วมกันเป็นไปด้วยความกังวล โดยเฉพาะเมื่อมีการส่งสินค้าไปแล้ว และต้องรอการชำระเงินตามเครดิตเทอม นอกจากนี้เมื่อการสั่งซื้อสินค้ามีจำนวนที่มากขึ้น ความเสี่ยงเรื่องการชำระเงินก็จะเพิ่มขึ้นตาม อย่างไรก็ตาม สืบเนื่องจากบทความที่แล้ว การให้บริการ Export Factoring สามารถทำให้ความเสี่ยงลดลงได้ ดังนี้

1. ผู้ให้บริการสินเชื่อ Export Factoring ได้รวมตัวจัดตั้งกลุ่มผู้ให้บริการ ที่เรียกว่า Factors Chain International หรือ FCI โดยมีสมาชิกผู้ให้บริการสินเชื่ออยู่ในประเทศต่าง ๆ กว่า 90 ประเทศ และมีจำนวนสมาชิกกว่า 400 บริษัท ในภูมิภาคสำคัญของโลกคือ ทวีปอเมริกา ยุโรป เอเชีย สมาชิกเหล่านี้จะช่วยตรวจสอบเครดิตของผู้นำเข้าที่อยู่ในประเทศของตน เพื่อผู้ส่งออกจะได้มีข้อมูลทางการเงินประกอบการส่งออก

2. เมื่อมีการตรวจสอบเครดิตผู้นำเข้าแล้ว ผู้ส่งออกอาจร้องขอให้สมาชิก FCI ที่อยู่ในในประเทศผู้นำเข้า ค้ำประกันการชำระหนี้ค่าสินค้า (Payment Guarantee) เมื่อมีการส่งออก โดยสมาชิก FCI จะกำหนดวงเงินประกันให้ผู้ส่งออกทราบ

3. การใช้สินเชื่อ Export Factoring สมาชิก FCI สามารถช่วยติดตามการชำระค่าสินค้ากับผู้นำเข้าในประเทศของตน ซึ่งจะรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากเป็นการสื่อสารที่ใช้ภาษาเดียวกัน ในประเทศเดียวกัน และสมาชิก FCI จะรายงานสถานะการติดตามให้ผู้ส่งออกทราบเป็นระยะ

ด้วยบริการดังกล่าว ผู้ส่งออกสามารถมั่นใจได้มากขึ้นว่า ผู้นำเข้าจะมีสถานะทางการเงินที่ดีพอที่จะสามารถชำระค่าสินค้าได้ เมื่อส่งสินค้าไปแล้วจะได้รับค่าสินค้าอย่างแน่นอน และเมื่อถึงกำหนด ก็มีตัวแทนในประเทศผู้นำเข้าช่วยติดตามการชำระเงิน หากสุดท้ายแล้วผู้นำเข้าไม่สามารถชำระเงินได้ ผู้ส่งออกก็ยังได้รับเงินคืนจากสมาชิก FCI ผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ค่าสินค้าถึง 100%

ในบทความต่อไป เราจะมาดูกันว่าผู้ส่งออกสินค้าประเภทใดที่เหมาะสมกับ Export Factoring แล้วพบกันครับ

Share the Post:

บทความที่เกี่ยวข้อง