Search
Close this search box.

รวมเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับเจ้าหนี้การค้า (Account Payable)

รวมเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับเจ้าหนี้การค้า (Account Payable)

มีหลายคนที่จำสลับกันระหว่างเจ้าหนี้การค้า (Account Payable) กับลูกหนี้การค้า (Account Receivable) หรือเข้าใจผิดว่าคือสิ่งเดียวกัน ทั้งที่จริง ๆ แล้ว ทั้งสองคำนี้มีความหมายและส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกันมาก เพื่อให้คุณสามารถแยกระหว่างเจ้าหนี้การค้า และลูกหนี้การค้าออกจากกันได้ IFS Capital จะพาคุณไปทำความรู้จักกับเจ้าหนี้การค้าอย่างละเอียดเอง จะน่าสนใจแค่ไหน ไปดูกันเลย!

เจ้าหนี้การค้าหมายถึงอะไร

เจ้าหนี้การค้า คือ เงินที่กิจการค้างชำระค่าสินค้า หรือค่าบริการที่ซื้อมาเพื่อขาย หรือเพื่อใช้ในการผลิตสินค้า หรือให้บริการตามปกติ โดยเจ้าหนี้การค้าจะถูกบันทึกเป็นหนี้สินหมุนเวียนของกิจการในงบการเงิน และกิจการจะต้องชำระหนี้ดังกล่าวเมื่อถึงระยะตามที่ตกลงกันไว้

เจ้าหนี้การค้าหมายถึงอะไร

ถ้าสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ “เจ้าหนี้การค้าคือการที่เราไปเอาสินค้าของเขามาขาย หรือใช้ผลิตสินค้า หรือให้บริการต่าง ๆ แล้วยังไม่จ่ายเงิน” นั่นเอง

เจ้าหนี้การค้าจัดอยู่ในหนี้ประเภทใด

เจ้าหนี้การค้าจัดอยู่ในประเภทหนี้สินหมุนเวียน ซึ่งหมายถึง หนี้สินที่มีระยะเวลาการชำระคืนภายใน 1 ปี นอกจากเจ้าหนี้การค้าแล้ว ในหนี้สินหมุนเวียนยังมีหนี้แบบอื่น ๆ อีก เช่น ตั๋วเงินจ่าย (Note Payable) รายได้รับล่วงหน้า (Unearned Revenue) หรือค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) เป็นต้น

เจ้าหนี้การค้ากับลูกหนี้การค้ามีความแตกต่างกันอย่างไร

เจ้าหนี้การค้ากับลูกหนี้การค้ามีความแตกต่างกันอย่างไร

เจ้าหนี้การค้าและลูกหนี้การค้าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจต่าง ๆ ที่มีการซื้อขายกันตามปกติ แต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่เจ้าหนี้การค้า เป็นหนี้ที่เกิดจากการที่ผู้ประกอบการไปเอาสินค้าของคู่ค้ามาทำธุรกิจของตนเอง ไม่ว่าจะเป็น ขายสินค้า ผลิตสินค้า หรือให้บริการ โดยที่ยังไม่ได้จ่ายเงินทันที แต่จะจ่ายในช่วงเวลาที่ตกลงกันไว้

ในขณะที่ลูกหนี้การค้าจะเป็นการที่ผู้ประกอบการขายสินค้าให้กับคู่ค้าในรูปแบบของเงินเชื่อ ซึ่งจะมีการให้ระยะเวลาในการชำระหนี้ หรือเครดิตเทอม (Credit Term) ไว้ โดยคู่ค้าจะกลายเป็นลูกหนี้การค้าของเรา และจะต้องชำระหนี้การค้าเมื่อถึงวันที่กำหนดไว้นั่นเอง

ตัวอย่างสถานการณ์การเป็นเจ้าหนี้การค้าและลูกหนี้การค้า

สำหรับใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วก็ยังแยกไม่ออกว่าเจ้าหนี้การค้าและลูกหนี้การค้ามีความแตกต่างกันอย่างไร สามารถดูตัวอย่างสถานการณ์การเป็นเจ้าหนี้การค้าและลูกหนี้การค้าได้เลย

  • บริษัท A เป็นผู้ผลิตสินค้าที่ใช้ในครัวเรือนขนาดใหญ่
  • บริษัท B เป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าที่มีสาขาทั่วประเทศ
  • บริษัท B ได้ซื้อสินค้าจาก บริษัท A มาขายต่อ โดยยังไม่จ่ายชำระค่าสินค้า แต่จะจ่ายในอีก 1 เดือนหลังจากที่รับสินค้า
  • หนี้ที่ติดค้างบริษัท A อยู่ จะถูกบันทึกเป็นเจ้าหนี้การค้าในบัญชีของบริษัท B
  • ในขณะที่หนี้ของบริษัท B จะถูกบันทึกเป็นลูกหนี้การค้าในบัญชีของบริษัท A

ข้อดีของการมีเจ้าหนี้การค้าในการทำธุรกิจ

ข้อดีของการมีเจ้าหนี้การค้าในการทำธุรกิจ

การที่ธุรกิจมีเจ้าหนี้การค้าแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือ เพราะการที่คู่ค้าให้เครดิต และปล่อยให้นำสินค้ามาขาย ผลิต หรือให้บริการก่อนได้ แสดงว่าธุรกิจนั้น ๆ จะต้องมีพฤติกรรมการชำระหนี้ที่ดี หรือมีศักยภาพที่จะหาเงินมาชำระหนี้ได้

นอกจากนี้เจ้าหนี้การค้ายังถือว่าเป็นหนี้ดี เพราะเป็นหนี้สินแบบไม่มีดอกเบี้ย ช่วยให้วงจรกระแสเงินสดของการดำเนินธุรกิจดีขึ้น และยิ่งถ้าธุรกิจนั้น ๆ มีเจ้าหนี้การค้าสูงก็จะแสดงถึงเครดิตที่ดีและมีอำนาจต่อรองสูงด้วย

สรุปเรื่องเจ้าหนี้การค้า

จะเห็นได้ว่า เจ้าหนี้การค้า เป็นหนี้สินที่มีความสำคัญมากในการดำเนินธุรกิจ เพราะเป็นตัวช่วยที่ดีที่จะทำให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจได้โดยที่ยังสามารถรักษากระแสเงินสดได้ดีอยู่ ไม่ต้องกังวลเรื่องดอกเบี้ย ช่วยสร้างเครดิตที่ดี และทำให้มีอำนาจการต่อรองสูงด้วย

Share the Post:

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้งานคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า