Search
Close this search box.

รวมเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับลูกหนี้การค้า (Account Receivable)

เมื่อพูดถึงหนี้สิน คนทั่วไปจะคิดถึงหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาใช้จ่ายสิ่งต่าง ๆ เป็นหลัก ซึ่งมักจะมีการกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้และอัตราดอกเบี้ยไว้ แล้วนำมาคิดรวมกันเป็นค่าผ่อนชำระในแต่ละเดือน เช่น สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบ้าน หรือสินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น

แต่สำหรับผู้ประกอบการ หนี้สินไม่ได้มีแค่หนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมเงินเท่านั้น แต่มีหนี้ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจโดยปกติด้วย เราเรียกหนี้นี้ว่า “หนี้การค้า” เป็นหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ย มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความคล่องตัวของธุรกิจเท่านั้น โดยผู้ที่เป็นหนี้การค้าจะถูกเรียกว่า “ลูกหนี้การค้า” และผู้ขายแบบเงินเชื่อจะถูกเรียกว่า “เจ้าหนี้การค้า” ซึ่งในบทความนี้ IFS Capital จะพาไปทำความรู้จักกับลูกหนี้การค้ากัน

ลูกหนี้การค้า (Account Receivable) หมายถึงอะไร

ลูกหนี้การค้า (Account Receivable, Trade Receivable) หมายถึง ลูกหนี้ที่เกิดจากการดำเนินการค้าตามปกติของธุรกิจในรูปแบบการซื้อขายแบบเชื่อ (Credit Sales) ซึ่งเป็นการซื้อขายที่ทางผู้ขายจะส่งมอบสินค้าและบริการแก่ผู้ซื้อให้ก่อน และกำหนดเงื่อนไขและระยะเวลาการชำระเงินในอนาคตไว้ โดยอาจให้ผู้ซื้อชำระหนี้เป็นงวด ๆ หรือก้อนเดียวจบก็ได้

นอกจากลูกหนี้การค้าแล้ว ยังมีลูกหนี้แบบอื่นอีกไหม

นอกจากลูกหนี้การค้าแล้ว ยังมีลูกหนี้ประเภทอื่น ๆ (Other Receivable) อีก ซึ่งจะหมายถึง ลูกหนี้ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินการค้าตามปกติของธุรกิจ แต่เกิดจากรายการประเภทอื่น เช่น

  • การให้เงินมัดจำ เช่น เงินมัดจำที่จ่ายให้ผู้ขายเพื่อรับประกันการจ่ายเงิน หรือเงินมัดจำความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
  • การให้เงินกู้ยืม เช่น เงินที่ให้พนักงาน ลูกจ้าง บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วมกู้ยืม
  • รายได้ค้างรับ เช่น เงินปันผลค้างรับ หรือดอกเบี้ยค้างรับ

ลูกหนี้การค้าจัดอยู่ในหมวดบัญชีใด

ลูกหนี้การค้าจัดอยู่ในหมวดบัญชีใด

ลูกหนี้การค้าจัดอยู่ในหมวดบัญชีประเภทสินทรัพย์ (Assets) ซึ่งหมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในการควบคุมของกิจการ โดยอาจจะมีตัวตน หรือไม่มีตัวตนก็ได้ และสามารถวัดมูลค่าเป็นตัวเงินได้ โดยผู้ประกอบการจะต้องแสดงในงบการเงินด้วยมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับจากลูกหนี้การค้า

ในสินทรัพย์นั้น จะแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สินทรัพย์หมุนเวียน และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน โดยลูกหนี้การค้าจะจัดอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์หมุนเวียน ซึ่งหมายถึง สินทรัพย์ที่อาจขาย หรือแปลงสภาพเป็นเงินสด หรือใช้หมดภายใน 12 เดือนนับจากวันสิ้นงวดบัญชี ซึ่งจะเรียงลำดับตามสภาพคล่อง โดยรายการใดที่มีสภาพคล่องใกล้เคียงกับเงินสด หรือสามารถเปลี่ยนสภาพเป็นเงินสดได้เร็ว จะได้แสดงเป็นลำดับก่อน

นอกจากลูกหนี้การค้าแล้ว ยังมีสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ๆ อีก เช่น เงินสด เงินฝากธนาคาร ตั๋วเงินรับ สินค้าคงเหลือ วัสดุสิ้นเปลือง รายได้ค้างรับ หรือค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า เป็นต้น

ลูกหนี้การค้าแตกต่างจากเจ้าหนี้การค้าอย่างไร

“ลูกหนี้การค้า” จะถูกบันทึกบัญชีไว้ในฝั่งของผู้ขาย โดยจะเป็นเงินที่ลูกค้าค้างชำระค่าสินค้า หรือค่าบริการจากการดำเนินการค้าตามปกติของธุรกิจ โดยลูกค้าจะต้องชำระเงินคืนตามเครดิตเทอม (Credit Term) ที่ได้ตกลงกันไว้

ในส่วนของ “เจ้าหนี้การค้า” จะเป็นสิ่งที่ผู้ซื้อต้องบันทึกบัญชีไว้ในงบแสดงฐานะการเงิน หรืองบดุล ซึ่งจะมีความหมายว่า เรามี “เจ้าหนี้” ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจโดยปกติของกิจการ และต้องนำเงินไปใช้หนี้อยู่เท่าไหร่นั่นเอง

ทำไมต้องบริหารจัดการลูกหนี้การค้าให้ดี

ทำไมต้องจัดการบริหารลูกหนี้การค้าให้ดี

ถึงแม้ว่าลูกหนี้การค้าจะถือเป็นสินทรัพย์ของธุรกิจ เนื่องจากจะก่อให้เกิดกระแสเงินสดในอนาคตแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ประกอบการจะสามารถวางใจได้ เพราะหนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ ก็คือการที่ลูกหนี้ไม่ยอมจ่ายเงิน

ถ้าหากเราไม่ใส่ใจในการบริหารลูกหนี้การค้าให้ดี เกิดปัญหานี้บ่อย ๆ ก็อาจส่งผลกระทบต่อการรักษากระแสเงินสด หรือเงินทุนหมุนเวียนในบริษัท จนทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่อง นำไปสู่การขาดทุน หรือร้ายแรงถึงขั้นปิดกิจการได้เลย ดังนั้นการวางระบบบริหารลูกหนี้การค้าอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไม่ควรละเลยนั่นเอง

IFS Capital ให้บริการรับซื้อหนี้การค้า เพื่อธุรกิจ SME

IFS Capital ให้บริการสินเชื่อแฟคตอริ่ง (Invoice Factoring) สินเชื่อระยะสั้นในรูปแบบการรับซื้อหนี้การค้า โดยใช้เอกสารการค้าต่าง ๆ เช่น ใบสั่งซื้อ ใบวางบิล ใบแจ้งหนี้ ใบส่งของ หรือสัญญางาน พร้อมเปลี่ยนเป็นเงินรับล่วงหน้าสูงสุด 90% ของมูลค่าเอกสารการค้า ช่วยให้คุณมีเงินทุนหมุนเวียนไปใช้ในการดำเนินกิจการอย่างไม่มีสะดุด

สำหรับท่านใดที่สนใจ สามารถกรอกฟอร์มสมัครสินเชื่อแฟคตอริ่ง https://www.ifscapthai.com/apply-for-a-loan/ได้เลย จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง

สรุปเรื่องลูกหนี้การค้า (Account Receivable)

สรุปเรื่องลูกหนี้การค้า (Account Receivable)

จะเห็นได้ว่า ลูกหนี้การค้า เป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้ประกอบการมือใหม่ต้องศึกษาข้อมูลและวางระบบบริหารจัดการให้ดี โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจ SME เพราะเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นแน่นอนในการดำเนินการค้าขายตามปกติของธุรกิจ ถ้าหากเราบริหารจัดการได้ดี จะสามารถลดปัญหาเรื่องกระแสเงินสด และช่วยให้ธุรกิจเติบโตขึ้นได้ แต่ถ้าเราบริหารจัดการไม่ดี ก็อาจทำให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระเงินทุนหมุนเวียนในระหว่างที่รอลูกหนี้ชำระเงินตามเครดิตเทอม และนำไปสู่การขาดสภาพคล่องได้นั่นเอง

Share the Post:

บทความที่เกี่ยวข้อง