Digital Factoring ทางเลือกสภาพคล่องสำหรับ SMEs รายย่อย | IFS Capital (Thailand)
27 ต.ค. 2565
เทคนิคธุรกิจ

Digital Factoring ทางเลือกสภาพคล่องสำหรับ SMEs รายย่อย

เมื่อลองนึกถึงบริบทของเศรษฐกิจไทย บรรดาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ครองสัดส่วนมากที่สุด คงจะเปรียบได้กับต้นไม้ที่กำลังเติบโตอย่างสง่างาม ทว่าภายในหมู่แมกไม้นั้นยังมีต้นกล้าเล็ก ๆ ปะปนอยู่ด้วย ซึ่งสังเกตได้ง่ายจากขนาดที่เล็กกว่าเพื่อน จึงอาจไม่ได้รับน้ำหรือแสงแดดมากพอ ทำให้ไม่สามารถเติบโตได้เต็มที่อย่างที่ควรจะเป็น แม้จะพยายามแค่ไหนก็ไม่สามารถสู้ต้นไม้สูงใหญ่ใบหนาที่มีโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรเหล่านี้ได้ดีกว่า

ต้นกล้าเล็ก ๆ ที่กล่าวถึงเปรียบได้กับ SMEs ที่เป็นวิสาหกิจขนาดย่อม คือ รายได้ต่อปีไม่สูงมากนัก ซึ่งถือว่ามีขนาดที่เล็กกว่า SMEs ขนาดกลางอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ SMEs ขนาดย่อมเหล่านี้ต้องดำเนินธุรกิจในวงจำกัด เพราะด้วยสินทรัพย์ค้ำประกันไม่มากนักหรือแทบไม่มีเลย รวมถึงการไม่มีคู่ค้าโดยตรงกับบริษัทขนาดใหญ่ จึงถูกจัดเป็นกิจการที่มีความเสี่ยงสูงและมักไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้มากนัก โดยเฉพาะเมื่อต้องการเงินทุนหมุนเวียนระหว่างที่รอรับเงินสดตามเทอมการค้า ทำให้วิสาหกิจเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงสภาพคล่องที่จะช่วยให้ขยายการผลิตได้ตามศักยภาพ

แม้ว่าจะมีเครื่องมือเข้าถึงสภาพคล่องอย่างบริการ Factoring ที่เปิดโอกาสให้ผู้ขาย (SMEs ที่เป็น seller) ใช้เพียง "ใบแจ้งหนี้" ที่ออกให้กับผู้ซื้อ (คู่ค้าที่เป็น buyer) เพื่อเรียกเก็บเงินหลังจากที่ได้ส่งมอบสินค้าแล้ว มาใช้เป็นเอกสารขอสินเชื่อ โดยมีรายรับที่จะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้าเป็นหลักประกันได้ก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีการใช้ Factoring อย่างแพร่หลายนัก

อ่านบทความฉบับเต็ม : https://bit.ly/3R424VA

ที่มา : Bank of Thailand