EP.3 แฟคเตอริ่ง "ยุคใหม่" | IFS Capital (Thailand)
27 ต.ค. 2565
ความรู้ธุรกิจ

EP.3 แฟคเตอริ่ง "ยุคใหม่"

ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 บทบาทของตัวแทนการค้าในอเมริกาเปลี่ยนไปอย่างมาก จากผลพวงของความก้าวหน้าด้านการสื่อสารและการขนส่ง ช่วยให้ผู้ส่งออกเปลี่ยนจากการส่งสินค้าไปกักตุนไว้ที่ตัวแทนเพื่อรอการขาย เป็นการส่งตรงไปยังผู้ซื้อหลังจากปิดการขายโดยใช้เซลส์แมนเข้าไปนำเสนอสินค้าตัวอย่าง จึงลดความต้องการในการบริการด้านการตลาด จัดเก็บ และการกระจายสินค้าโดยคนกลางลงไปมาก เหลือแต่ความต้องการด้านเงินทุนที่ยังคงอยู่

ในช่วงแรกทางด้านกฎหมายมีการกำหนดอย่างคร่าวๆ สำหรับบริการทางการเงินแบบนี้เพียงว่า บริษัทผู้รับแฟคเตอร์เป็นตัวแทนในการขายสินค้าและได้รับค่าตอบแทนจากกระบวนการขาย เมื่อลักษณะของการค้าขายได้เปลี่ยนไปจากเดิม ขั้นตอนจึงปรับตัวเปลี่ยนเป็นผู้ส่งออกสินค้ามอบหมายให้บริษัทผู้รับแฟคเตอร์เป็นผู้รับซื้อหนี้จากการขายที่เกิดขึ้นและรับเก็บเงินโดยตรงจากผู้ซื้อ ระบบแฟคเตอริ่งที่เรารู้จักกันในปัจจุบันจึงถือกำเนิดขึ้น

ส่วนในยุโรปนั้น ระบบการให้การสนับสนุนทางการเงินโดยการรับซื้อลูกหนี้ได้ปฏิบัติกันมากว่าร้อยปี โดยใช้เอกสารยืนยันเป็นเพียงสำเนาใบแจ้งหนี้ และส่วนใหญ่แล้วแทบไม่มีการแจ้งให้ลูกหนี้ทราบ พบการใช้บริการอย่างแพร่หลายมากที่สุดในลอนดอนยุคศตวรรษที่ 1950 เนื่องจากความง่ายของขั้นตอนการใช้บริการและการรักษาความลับ จึงดึงดูดความสนใจของบริษัทต่างๆที่สนใจหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมเป็นจำนวนมาก

สำหรับความเสี่ยงของบริษัทผู้รับแฟคเตอร์ก็มีหลายอย่างเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเงินที่สูญไปเนื่องจากธุรกิจของลูกค้าล้มละลาย ลูกหนี้คืนสินค้าโดยไม่แจ้งล่วงหน้า หรือการหักลดหนี้กัน ล้วนทำให้บริษัทผู้แฟคเตอร์ที่ไม่มีการป้องกันที่ดีพอ ตกอยู่ในสถานะลำบากในการติดตามเงิน

จากประสบการณ์ที่สะสมมาของทั้งฝั่งยุโรปและอเมริกา จึงถือกำหนดยุคใหม่ของแฟคเตอริ่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 1960 บริษัทผู้รับแฟคเตอร์ ได้พัฒนาระบบการดำเนินการให้รัดกุมขึ้น โดยจะรับซื้อหนี้ในจำนวนตามยอดขายเท่านั้น และจะเลือกทำธุรกรรมแบบมีสิทธิ์ไล่เบี้ยหรือไม่มีสิทธิ์ไล่เบี้ยแล้วแต่การพิจารณา อีกทั้งมีการแจ้งการโอนสิทธิ์แก่ลูกหนี้ทุกครั้ง ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติที่บริษัทผู้ให้บริการแฟคเตอร์ ยังนำมาใช้อยู่จนปัจจุบัน

ในตอนหน้า ไอเอฟเอสจะพาทุกท่านไปรู้จักแฟคเตอริ่งยุคก้าวหน้าที่พัฒนาจนใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน