ประเด็นด้านเศรษฐกิจ
- การเติบโตอย่างยั่งยืน
- การบริหารความเสี่ยง
- การพัฒนาเชิง Digital
- ผลตอบแทนและผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย
- การกำกับดูแลกิจการ จรรยาบรรณ และจริยธรรม
- การดำเนินงานในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19
การบริหารความเสี่ยง
บริษัทให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร โดยมีการกำหนดประเด็นความเสี่ยงในประเด็นต่างๆ การประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ความน่าจะเป็นในการเกิดเหตุการณ์นั้นๆ ตลอดจนให้มีการทบทวนและปรับปรุงประเด็นความเสี่ยงเมื่อมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น เพื่อจัดลำดับความสำคัญและวางแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงในประเด็นต่างๆ ดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทได้กำหนดให้ฝ่ายบริหารได้รายงานผลการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเป็นรายไตรมาส เพื่อทบทวน ติดตามและประเมินผลการจัดการบริหารความเสี่ยงในประเด็นความเสี่ยงด้านต่างๆที่อาจเกิดขึ้น
บริษัทยังได้ปรับปรุงเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าและลูกหนี้การค้ารายใหญ่ (ผู้ซื้อ) ตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ซึ่งเพิ่มเกณฑ์โดยให้พิจารณาควบคู่กับผลกำไรที่เกิดขึ้นทั้งปีของบริษัทด้วย เพื่อจัดการความเสี่ยงในแนวทางที่ยั่งยืน
นอกจากนี้ บริษัทยังมีหน่วยงานตรวจสอบภายในจากบริษัท ไอเอฟเอส แคปปิตอล ลิมิเต็ด (ไอเอฟเอส สิงคโปร์) และบริษัท เอเอ็มซี อินเตอร์เนชั่นแนล คอนซัลติ้ง จำกัด ทำหน้าที่รับผิดชอบตรวจสอบและติดตามการดำเนินงานของฝ่ายต่างๆ ของบริษัทตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้มั่นใจในระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ตลอดจนให้มีการดำเนินงานให้เป็นไปตามคู่มือการปฏิบัติงานของฝ่ายต่างๆ และรายงานตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
การพัฒนาเชิง Digital
บริษัทตระหนักถึงความจำเป็นในการก้าวให้ทันกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทั่วโลก โดยสำรวจหาเทคโนโลยีที่จะช่วยให้บริษัทสามารถเพิ่มประสิทธิภาพงานให้มากยิ่งขึ้น โดยตั้งเป้าหมายที่จะเริ่มโครงการเพื่อทำให้การดำเนินงานทั้งหมดของบริษัทเป็นระบบดิจิทัลภายในปี 2564
บริษัทจะมุ่งเน้นการทำธุรกิจผ่านทาง Digital Factoring Platform เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า SMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้นและสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งช่วยให้ SMEs ที่เป็นรายย่อยได้รับเงินทุนโดยใช้ใบแจ้งหนี้ดิจิทัล ปัจจุบันบริษัทกำลังศึกษาและดำเนินการเพื่อให้เป็นรูปธรรมในปี 2564
การกำกับดูแลกิจการ จรรยาบรรณ และจริยธรรม
การกำกับดูแลกิจการเป็นองค์ประกอบของความยั่งยืน กลุ่มบริษัทไอเอฟเอสประสบความสำเร็จในการผลักดันระบบการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ (e-learning portal) ทั่วทั้งกลุ่ม ด้วยการเรียนรู้ด้วยระบบดังกล่าวบริษัทมีความมั่นใจว่าพนักงานของเราได้รับการฝึกฝนอบรมอย่างถูกต้องและมีความเข้าใจในแง่ของมาตรฐานและความคาดหวังในการปฏิบัติตาม ในปี 2563 พนักงานของไอเอฟเอสร้อยละ 100 สำเร็จการฝึกอบรมออนไลน์ในหลักสูตรความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการป้องกันการทุจริตภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรค COVID-19 รวมถึงการออกมาตรการในการป้องกันและควบคุมดังกล่าว บริษัทคาดหวังที่จะจัดให้มีหลักสูตรในการฝึกอบรมการเรียนรู้เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทมีความเชื่อมั่นว่าการดำเนินการตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในการดำเนินธุรกิจจะส่งผลให้ทุกภาคส่วนของบริษัทจะมีความเจริญเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน สามารถสร้างผลตอบแทนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้น และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างต่อเนื่อง
ผลตอบแทนและผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนล้วนมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท ทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ธุรกิจมีความเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว ดังนั้น การสานสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้เสีย (ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า ธนาคาร ฯลฯ) ถือได้ว่าเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กร เพื่อให้ทราบถึงความคาดหวัง ความสนใจ หรือข้อกังวล ตลอดจนคำแนะนำต่างๆ ที่มาจากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียสำคัญทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเหล่านั้นเป็นข้อมูลสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนากระบวนการผลิตภัณฑ์และบริการให้สามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องได้อย่างตรงจุด รวมถึงพัฒนาแนวทางการดำเนินธุรกิจไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนให้เกิดขึ้นต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทคาดหวังที่จะดำเนินธุรกิจให้มีผลกำไรต่อเนื่องทุกปี และสามารถจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ตามนโนบายอย่างต่อเนื่อง
การดำเนินงานในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19
บริษัทมีแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) เพื่อไม่ให้การทำธุรกิจกับลูกค้าเกิดการหยุดชะงัก โดยจัดให้มีหน่วยงานแยกต่างหากเพื่อรองรับหากมีพนักงานติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีแผนให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน (WFH) เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงให้กับพนักงานที่ต้องเดินทางมาปฏิบัติงานที่บริษัทในระหว่างการแพร่ระบาดของโรค COVID-19